วิธีลดสารพิษในบ้าน เพื่อป้องกันเด็กๆ จากสารตะกั่วและสาร PFOA/PFOS

วิธีลดสารพิษในบ้าน เพื่อป้องกันเด็กๆ จากสารตะกั่วและสาร PFOA/PFOS

ว่ากันว่า “ไม่มีที่ไหนอุ่นใจเท่าบ้านเรา” การที่จะสร้างและดูแลบ้านที่เป็นมิตรต่อสุขภาพเพื่อคนในครอบครัวของคุณนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซีโร่วอเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือกับเครือข่ายอนามัยสิ่งแวดล้อมของเด็ก (CEHN) เพื่อสร้างความตระหนักต่อการได้รับสารตะกั่ว และสาร PFOS/PFOA ของเด็กๆ รวมถึงว่าเด็กๆ จะได้รับสารพิษเหล่านี้อย่างไร และสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่อเด็กๆ

เครือข่ายอนามัยสิ่งแวดล้อมของเด็ก เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับชาติ และเป็นผู้นำด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของเด็ก นำเสนอมุมมองซึ่งมีรากฐานจากกุมารเวชศาสตร์และวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

เราต่างก็ต้องการให้เด็กได้รับสิ่งที่ดีที่สุด และการจัดการบ้านที่เอื้อต่อสุขภาพนั้นเป็นกุญแจสู่สุขภาพที่ดีในภาพรวม และเตรียมเด็กๆ ให้พร้อมสำหรับความสำเร็จทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ความเสี่ยง และการป้องกันการรับสารตะกั่ว

สารตะกั่วเป็นโลหะหนักที่เป็นพิษร้ายแรงต่อระบบประสาท ซึ่งอาจมีผลร้ายแรงต่อเด็กไปตลอดชีวิต รวมไปถึงปัญหาด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ แถมยังสามารถทำให้ IQ ลดลงได้อีกด้วย การได้รับสารตะกั่วในผู้ใหญ่นั้นอาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ปัญหาต่อไต โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงความผิดปกติของเส้นประสาท ถึงแม้สารตะกั่วจะเป็นอันตรายต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทว่าผู้ที่เสี่ยงที่สุดคือสตรีมีครรภ์ ผู้ที่ให้นมบุตร และเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ เพราะพวกเขาอยู่ในช่วงที่มีพัฒนาการรวดเร็ว หรือกำลังเลี้ยงดูบุตรที่อยู่ในช่วงเปราะบางของพัฒนาการ

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อกล่าวว่า เด็กๆ มีความเสี่ยงที่สุดต่อผลกระทบจากการได้รับสารตะกั่วภายในบ้าน แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน และจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร?

แถลงการณ์นโยบายสภาอนามัยสิ่งแวดล้อม ของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ไม่มีการระบุเกณฑ์ หรือระดับที่ปลอดภัยของสารตะกั่วที่อยู่ในเลือด”

เด็กๆ ได้รับสารตะกั่วอย่างไร

  • การดื่มน้ำประปาที่ไม่ผ่านการกรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นน้ำจากบ่อส่วนตัว หรือจากท่อส่งน้ำเก่า
  • สีทาบ้านผสมตะกั่ว (มักจะพบในบ้านเก่าๆ)
  • เครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องแก้วเคลือบตะกั่ว
  • สินค้าบางอย่าง เช่น เครื่องสำอาง ของเล่น เครื่องประดับ
  • ฝุ่นรอบๆ บ้าน และบรรดาเสื้อผ้าที่เก็บเข้าบ้านจากข้างนอกก็สามารถพบสารตะกั่วได้เช่นกัน

สารตะกั่วมีผลกระทบอะไรต่อเด็กๆ

  • ระบบประสาทส่วนกลางเสียหาย
  • ชะลอการเติบโตและพัฒนาการ
  • ปัญหาด้านการเรียนรู้และพฤติกรรม

ทำไมสารตะกั่วจึงอันตราย?

  • สารตะกั่วเป็นพิษต่อระบบประสาทและสามารถสะสมในสมอง เลือด และกระดูกได้ และยัง
  • สามารถเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางในด้านแนวกั้นเลือดและสมองโดยสร้างความเสียหายอย่างถาวร

เราจะหลีกเลี่ยงการได้รับสารตะกั่วอย่างไร?

  • ทดสอบหาสารตะกั่วในน้ำและใช้เครื่องกรองน้ำที่ผ่านการรับรองการกำจัดสารตะกั่ว เครื่องกรองน้ำแบบ 5 ขั้นตอนของซีโร่วอเตอร์ผ่านการทดสอบการลดสารตะกั่วและการลดอนุภาค (ชั้น 1) กับมาตรฐาน NSF/ANSI ที่ 42 และ 53 โดยองค์กรภายนอก
  • ทดสอบหาสารตะกั่วและสารปนเปื้อนในน้ำก๊อกของคุณ
  • ถอดรองเท้าเมื่อเข้าบ้านเพื่อป้องกันสารตะกั่วที่ปนเปื้อนในดิน
  • ล้างมือทุกครั้งเมื่อเข้าบ้าน
  • คุณคงไม่อยากให้พื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุดอย่างบ้านของคุณมีการปนเปื้อน อย่าลืมแบ่งเวลาสักนิดเพื่อหาสัญญาณอันตรายที่มาจากสารตะกั่วในบ้าน

ความเสี่ยง และการป้องกันการได้รับสาร PFOA/PFOS

สาร PFOS/PFOA นั้นเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากในปัจจุบัน พวกมันปนเปื้อนไปในแทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม หรือน้ำดื่ม

ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้เป็นสารประกอบที่ถูกสร้างขึ้น อยู่ในกลุ่มสารเคมีที่เรียกกันว่า สารโพลีฟลูออโรอัลคิล
หรือเรียกสั้นๆว่า PFAS

สาร PFOS และ PFOA ต่างกันอย่างไร?

PFOS เป็นสารประกอบที่ถูกทำลายไม่ได้ซึ่งมันกันน้ำ คราบมัน และฝุ่นสกปรก มันมักถูกใช้เพื่อเคลือบกระทะหรืออุปกรณ์กันฝน กลับกันแล้ว PFOA นั้นกันน้ำและน้ำมันได้เยี่ยม เป็นสารที่ใช้ในเทฟล่อน หรือสารเคลือบกันติดของกระทะ ห่อของอาหารจานด่วน และภาชนะห่อกลับบ้าน

เมื่อสารเคมีพวกนี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ พวกมันจึงตกค้างอยู่ในน้ำประปา และการวิจัยชี้ว่าสารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสัตว์

สาร PFOA และ PFOS ส่งผลกระทบต่อสุชภาพอย่างไร?

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ ชี้ว่า PFOS/PFOA ส่งผลเสียต่อสุขภาพดังนี้:

  • พัฒนาการของทารกในครรภ์และทารกที่รับนมแม่ (น้ำหนักแรกเกิดต่ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงสรีระก่อนวัย และการเปลี่ยนแปลงของกระดูก)
  • มะเร็งอัณฑะหรือมะเร็งไต
  • ตับเสียหาย
  • ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน (การสร้างแอนติบอดี้และภูมิคุ้มกัน)
  • การเปลี่ยนแปลงของต่อมไทรอยด์และคอเลสเตอรอล

เราจะป้องกันการได้รับสาร PFOS/PFOA อย่างไร?

  • คอยระวังเวลาใช้เครื่องครัวเคลือบสารกันติด (ถึงจะบอกว่า ปลอดสาร PFOA ก็ตาม)
  • นำภาชนะไปใส่อาหารที่ห่อกลับบ้านเอง เมื่อออกไปทานข้าวนอกบ้าน
  • อบป๊อปคอร์นด้วยตัวเอง เพราะถุงป๊อปคอร์นส่วนใหญ่จะปนเปื้อนลงไปในอาหารว่างจานเด็ดของคุณ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคลือบกันรอย เช่น สเปรย์สก็อตช์การ์ด
  • ใช้เครื่องกรองน้ำที่ผ่านมาตรฐานจากสมาคมควบคุมคุณภาพน้ำ เพื่อกำจัดสารปนเปื้อน เช่น สาร PFOS/PFOA
  • สนับสนุน Clean Water Action เพื่อเพิ่มการตรวจสอบน้ำดื่มหาสาร PFAS และรับร่างสภานิติบัญญัติเกี่ยวกับการลดการใช้สาร PFAS ในผลิตภัณฑ์และภาคอุตสาหกรรม เข้าไปที่ CleanWaterAction.org และดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม
  • เหยือกกรองน้ำแบบ 5 ขั้นตอนสุดพรีเมี่ยมของซีโร่วอเตอร์ ได้ผ่านมาตรฐานรับรองว่าลดสารตะกั่วได้จริงจาก NSF/ANSI และยังได้รับการรับรองจากสมาคมควบคุมคุณภาพน้ำว่าสามารถลดสาร PFOS/PFOA ได้อีกด้วย อุ่นใจได้เลยว่าครอบครัวของคุณจะได้ดื่มน้ำที่ปลอดภัย และมีรสชาติเยี่ยม!
  • เรียนรู้ที่จะปกป้องสุขภาพของเด็กๆ (และผู้ใหญ่) จากมลพิษของสิ่งแวดล้อมในบ้าน

References:

Overview of Childhood Lead Poisoning Prevention
Prevention of Childhood Lead Toxicity
Lead-Safe Toolkit for Child Care
Why Do So Many Schools Have Lead in the Drinking Water?
How States Are Handling Lead in School Drinking Water

Keywords: PFOS/PFOA, ZeroWater, Reduce Toxicants, healthy home, drinking water

Recommended Products

รับส่วนลด 5%
เมื่อสมัครสมาชิก

Love My Zero
Love My Zero