PFAS สารเคมีตัวร้าย ภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด

รู้หรือไม่? การใช้ชีวิตประจำวันที่แสนปกติของเราอบ่างเช่นการดื่มน้ำ อาจแฝงไปด้วยภัยเงียบที่จ้องทำลายสุขภาพของเราอยู่อย่างช้า ๆ

การปนเปื้อนของสาร PFAS (สารเคมีที่มนุษย์คิดค้นขึ้นและยากที่จะกำจัด) ในแหล่งน้ำ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในปัญหาที่สงผลเสียต่อสุขภาพของคนไทย และเป็นปัญหาที่ยากที่จะแก้ไข PFAS อยู่ใกล้ตัวเรามากแค่ไหนและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลย

รู้จักกับ PFAS สารจิ๋วตัวร้าย

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสารเคมีชนิดนี้กันก่อน PFAS หรือ Perfluoroalkyl and Polyfluoroalkyl Substances คือกลุ่มของสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น มีคุณสมบัติพิเศษคือทนทานต่อความร้อน น้ำ และไขมัน จึงนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รอบตัวเรา เช่น เครื่องครัวเคลือบสารกันติด กระดาษกันน้ำ เสื้อผ้ากันน้ำ หรือแม้แต่โฟมดับเพลิง

แต่คุณสมบัติที่ทำให้ PFAS เป็นที่นิยมนี่เอง ที่กลับกลายมาเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การฝังกลบขยะที่มีส่วนประกอบของ PFAS เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้า สิ่งทอ รวมไปถึงการปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ขาดการควบคุมและการบำบัดอย่างถูกวิธี ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สารจิ๋วตัวร้ายนี้ไหลลงไปปนเปื้อนในแหล่งน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใต้ดิน หรือแหล่งน้ำบนดินอย่างแม่น้ำได้ ซึ่งคงจะไม่ดีแน่หากเรายังคงต้องพึ่งพาอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่มีการปนเปื้อนในการดำรงชีพ

นอกจากนี้ เจ้าสาร PFAS นั้นย่อยสลายได้ยากมาก และสามารถปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและหากเราบริโภคเข้าไปก็จะสะสมอยู่ในร่างกายของเราได้เ ป็นเวลานาน จนได้รับฉายาว่าเป็น "สารเคมีอมตะ" หรือ forever chemicals นั่นเอง

ผลกระทบของ PFAS

เนื่องจาก PFAS เป็นสารเคมีที่ยากเกินกว่าจะกำจัด ทำให้ตัวมันเองสามารถปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำได้นานตามที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งสาเหตุนี้เองที่เป็นต้นเหตุของผลเสียต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่ต่อสุขภาพของเรา แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย

ผลกระทบต่อสุขภาพ

การปนเปื้อนของ PFAS ในน้ำดื่มและอาหารเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของเราอย่างร้ายแรง เมื่อ PFAS เข้าสู่ร่างกาย ก็จะสะสมและคงอยู่เป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ดังนี้

  • เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง
  • ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
  • ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
  • ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบฮอร์โมน
  • เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
  • ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาร PFAS ไม่เพียงแต่เป็นภัยต่อสุขภาพมนุษย์เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

  • ปนเปื้อนแหล่งน้ำและห่วงโซ่อาหาร: PFAS ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำจะสะสมในพืชและสัตว์น้ำ เมื่อมนุษย์บริโภคพืชหรือสัตว์เหล่านี้ PFAS ก็จะเข้าสู่ร่างกายของเรา ทำให้เกิดการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร
  • ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า: สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ปนเปื้อน PFAS อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ ตับถูกทำลาย และภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  • ทำลายสมดุลของระบบนิเวศ: การปนเปื้อนของ PFAS สามารถทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลกระทบต่อสมดุลของระบบนิเวศในระยะยาว

สถานการณ์การปนเปื้อนสาร PFAS ในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่า PFAS เป็นสารเคมีตัวร้ายที่สร้างผลเสียให้กับทั้งร่างกายของเราและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม บางคนก็อาจยังรู้สึกว่าปัญหาการปนเปื้อนของ PFAS นี้เป็นเรื่องไกลตัว แต่รู้หรือไม่ว่าสถานการณ์การปนเปื้อนของ PFAS ในประเทศไทยเองนั้นก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ไม่ใช่น้อย

จากรายงานพบว่ามีการปนเปื้อนของ PFAS ในแหล่งน้ำสำคัญ ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น แม่น้ำ น้ำบาดาล น้ำประปา และแม้แต่น้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งปัญหาเรื่องการกำจัดขยะและสถานที่ทิ้งขยะที่ขาดการควบคุมที่ได้มาตฐานเป็นหนึ่งในสาเหตุขอ งการปนเปื้อนสาร PFAS ในแหล่งน้ำใกล้เคียง โดยมีการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำบาดาลใกล้สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยภายในจังหวัดพระนครศ รีอยุธยา (บางไทรและเสนา) และจังหวัดชลบุรี (มาบไผ่) มาสำรวจ ผลพบปริมาณ PFAS ตั้งแต่ 1.68 – 42 นาโนกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นระดับที่เกินมาตรฐานคำแนะนำด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ มีการสำรวจน้ำประปาในกรุงเทพฯ ซึ่งมีแหล่งน้ำหลักมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาปนเปื้อนสาร PFAS โดยในแม่น้ำเองมีระดับของ PFOS สูงถึง 20 มิลลิกรัมต่อลิตร (ส่วนต่อล้านส่วน) และระดับของ PFOA อยู่ในช่วง 0.7 ถึง 20 นาโนกรัมต่อลิตร (ส่วนต่อล้านส่วน) ระดับของสาร PFAS เพิ่มขึ้นจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำ และระดับสูงสุดพบที่ท่าเรือซึ่งเป็นจุดที่โรงบำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ปล่อยน้ำทิ้งนั่นเอง มากไปกว่านั้น การกำจัดน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม ก็เป็นอีกเรื่องที่น่ากังวลสำหรับชาว กทม. ไม่แพ้กัน โดยมีการตรวจพบสาร PFOS ปนเปื้อนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 264 นาโนกรัมต่อลิตร (ส่วนต่อล้านส่วน) และสูงถึง 6,200 นาโนกรัมต่อลิตร (ส่วนต่อล้านส่วน) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก

จะเห็นได้ว่า ปัญหาเรื่องการปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำนั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากบริโภคน้ำหรือใช้สอยน้ำจากแหล่งที่มีสารปนเปื้อนเหล่านี้ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราและคนที่เรารักได้ในระยะยาว การตระหนักถึงปัญหานี้และร่วมมือกันแก้ไข ทั้งจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนทุกคน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เรามีน้ำสะอาดและปลอดภัยไว้ใช้ได้อย่างยั่งยืน

ดื่มน้ำปลอดภัยต้องน้ำดื่มจากภาชนะกรอง Culligan ZeroWater

ปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักจากภัยเงียบจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม ด้วยเหยือกกรองน้ำชั้นนำ Culligan ZeroWater ผลิตภัณฑ์กรองน้ำยี่ห้อเดียวที่ได้รับมาตรฐาน NSF ว่าสามารถกำจัดโครเมียม ตะกั่ว ปรอท และ PFOA/PFOS ได้

ด้วยเทคโนโลยีการกรอง 5 ขั้นตอน Culligan ZeroWater สามารถกำจัดสารปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสาร PFAS สารตะกั่ว และโลหะหนักต่าง ๆ ที่อาจปะปนอยู่ในน้ำประปาหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ มอบน้ำดื่มที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากสารอันตราย ให้คุณมั่นใจในทุกแก้วที่ดื่ม

ทำไมต้องเลือก Culligan ZeroWater?

  • เทคโนโลยีการกรอง 5 ขั้นตอน: กำจัดสารปนเปื้อนได้มากกว่าเครื่องกรองทั่วไป มั่นใจในความสะอาดของน้ำดื่ม
  • ลดสาร PFAS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ: ปกป้องคุณจากสารเคมีอันตรายที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
  • ใช้งานง่าย สะดวก: ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก
  • คุ้มค่า คุ้มราคา: ลงทุนครั้งเดียว คุ้มค่ากว่าการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ช่วยลดขยะพลาสติก รักษาสิ่งแวดล้อม

อย่ารอให้ภัยเงียบจากสารปนเปื้อนในน้ำทำร้ายสุขภาพคุณและคนที่คุณรัก เลือกภาชนะกรองน้ำ Culligan ZeroWater เพื่อน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยในทุก ๆ วัน

Reference

Thailand PFAS Country Situation Report April 2019

Recommended Products

รับส่วนลด 5%
เมื่อสมัครสมาชิก

Love My Zero
Love My Zero